ภาษา :

ดูบทความ5 Do&Don’t เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับสต็อกนมแม่

5 Do&Don’t เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับสต็อกนมแม่

             


5 เรื่องไม่ควรทำกับสต็อกนมแม่

          1. ห้ามนำนมแม่อุ่นด้วยความร้อนสูง ห้ามแช่น้ำร้อน หรืออุ่นนมแม่ในเตาไมโครเวฟเด็ดขาด เพราะจะทำให้สารอาหารในน้ำนมสูญเสียไป

          2. ไม่ควรปล่อยให้นมแช่แข็งละลายเองที่อุณหภูมิห้อง เพราะต้องใช้ระยะเวลานาน อาจทำให้น้ำนมเสียได้ การละลายนมแม่แช่แข็งที่ถูกต้องคือ นำถุงน้ำนมมาวางในช่องแช่เย็นธรรมดาล่วงหน้า 24 ชั่วโมงเพื่อให้น้ำนมค่อยๆละลาย เมื่อละลายแล้วจึงเทใส่ขวดนม แกว่งเบาๆ แล้วป้อนลูกค่ะ

          3. ไม่ควรนำนมแม่ที่ละลายแล้วกลับไปแช่แข็งใหม่ นมแม่ที่ละลายแล้วสามารถอยู่ข้างนอกได้ 4-6 ชม. หรือเก็บใส่ตู้เย็นช่องธรรมดาได้ไม่เกิน 24 ชม. แต่ไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งใหม่

          4. ไม่ควรให้ลูกกินนมแม่ของคนอื่น อาจเสี่ยงกับการติดเชื้อได้ เพราะถึงแม้จะมีการตรวจร่างกาย ตรวจสุขภาพของผู้บริจาค แต่คุณหมอก็แนะนำว่าเป็นแค่การตรวจเพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งมีโรคอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถตรวจพบ ดังนั้นหากน้ำนมแม่พอ ไม่ควรให้ลูกกินนมสต็อกจากคนอื่นค่ะ

          5. ไม่ควรเก็บนมแม่แช่แข็งปะปนกับอาหารอย่างอื่น ไม่เก็บนมแม่ใกล้กับประตูตู้เย็นเพราะความเย็นจะไม่คงที่จากการเปิดตู้เย็น หากมีปริมาณสต็อกนมเยอะ อาจจะหาตู้แช่แข็งแยกเก็บโดยเฉพาะ

5 เรื่องควรทำกับสต็อกนมแม่

          1. เก็บแช่แข็งให้เร็วที่สุด นมแม่ที่วางแผนเก็บไว้เป็นสต็อก หรือใช้หลัง 1 สัปดาห์ ควรเก็บแช่แข็งให้เร็วที่สุดหลังจากปั๊มออกมา ไม่ควรเกิน 24 ชม. เพื่อเก็บรักษาคุณค่าสารอาหารให้ได้มากที่สุด

          2.แบ่งเก็บให้พอดีควรแบ่งปริมาณน้ำนมเก็บในถุงแช่แข็งให้พอดีกับแต่ละมื้อหรือแต่ละวันที่ลูกกินนมแม่ เพื่อสะดวกในการนำออกมาละลายให้ลูกกิน ไม่เหลือทิ้ง

          3.อุ่นนมแม่ด้วยน้ำอุ่นเมื่อวางนมแม่ให้ละลายในช่องแช่เย็นปกติล่วงหน้าไว้แล้ว หากลูกชอบดื่มนมอุ่นๆ คุณแม่ควรวางถุงน้ำนมที่ละลายแล้วในชามใส่น้ำอุ่น เพื่อวอร์มน้ำนมค่ะ

          4. ทำสต็อกนมเท่าที่จำเป็น ถ้าคุณแม่เลี้ยงลูกเต็มเวลา ไม่ได้กลับไปทำงาน ไม่จำเป็นต้องทำสต็อกนมแม่ไว้ในปริมาณมาก ๆ แต่ให้ลูกได้กินนมแม่สดใหม่ทุกวันจะได้รับสารอาหารได้อย่างเต็มร้อยที่สุดค่ะ ควรให้ลูกเข้าเต้าเป็นประจำในช่วงแรกเพื่อกระตุ้นให้น้ำนมไหลดี และอาจจะปั๊มออกเก็บบางส่วนพอค่ะ

          5. ควรเก็บนมแม่ใส่ในถุงเก็บน้ำนม เพราะถุงเก็บน้ำนมสะดวกในการเก็บ สามารถเก็บได้ปริมาณมาก ประหยัดพื้นที่ และนมที่เก็บในถุงเก็บน้ำนมแม่จะละลายเร็วกว่าเก็บในภาชนะอื่น ๆ

รวบรวมและเรียบเรียงโดย เตเต้
#toddlerfamily #toddler #ถุงเก็บน้ำนมแม่ #ถุงเก็บน้ำนม #ถุงเก็บนม #ถุงใส่นม #สนับสนุนให้ลูกได้ดื่มนมแม่
Cr.Love of Mom Thailand

13 กรกฎาคม 2566

ผู้ชม 14392 ครั้ง

Engine by shopup.com